เรา รัก พระเจ้าอยู่หัว ^ ^

เรา รัก พระเจ้าอยู่หัว ^ ^
พระองค์ ทรงพระเจริญ

Best Team In My Heart

Best Team In My Heart

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สมุนไพรสลอด

เมื่อหลายปีก่อน ข้าพเจ้าเพิ่งเริ่มศึกษาแพทย์แผนไทย และสงสัยเอามากๆ ว่าทำไมวิธีประสะลูกสลอดจึงยุ่งยาก
ลำบาก แล้วตัวยาที่อันตรายแบบนี้จะนำมาใช้ทำไม? มาวันนี้ข้าพเจ้าเข้าใจแล้วว่า สลอดคือตัวยาที่มีพิษแต่มีคุณอนันต์เพราะต่างประเทศได้นำสลอดต้นไปวิจัยและพบว่ามีฤทธิทางเภสัชในการฆ่าเซลล์มะเร็ง
แต่น่าเสียดายที่ทุกวันนี้มีผู้ไม่หวังดีต่อภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ได้ใช้สลอดต้นกลั่นแกล้งพระเณรใน
ชนบทเพื่อให้ทางการออกกฎระเบียบ (ซึ่งข้าพเจ้ายังไม่รู้ว่าอยู่ในพรบ.ฉบับใด) ให้ทำลายต้นสลอดเสมือนหนึ่งว่าสลอดต้นเป็นยาเสพติดให้โทษ อย่างเช่น ฝิ่น ทำให้ลูกสลอด และส่วนต่างๆ ของสลอดต้น ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนโบราณ เหมือนสมัยก่อน



ดังนั้นข้าพเจ้าจึงสงสัยว่าแพทย์แผนไทยจะเจริญงอกงามได้อย่างไร หากตำรับยาโบราณที่บรรพบุรุษได้
มอบไว้มียาสลอดจะถูกปิดกั้นด้วย hidden agenda ของต่างชาติ ท่านที่มีความรู้ทางกฎหมายช่วย
กันวิเคราะห์ทีว่า มาตรา 12 แห่งพรบ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.๒๕๔๒
ระบุว่า "ให้มีสถาบันการแพทย์แผนไทยในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่
ดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมการศึกษาอบรม การศึกษาวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญา
การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร และรับผิดชอบในงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการ"
จะมี
อำนาจหน้าที่แก้ไข hidden agenda ดังกล่าวได้หรือไม่

ข้าพเจ้าพยายามค้นหาในเว็บนี้ว่ามีเรื่องเกี่ยวกับสลอดต้นหรือไม่ ปรากฎว่ามีแต่หัวข้อ จึงขอให้ข้อมูลดังนี้

สลอด หรือ สลอดต้น (Croton tiglium Linn.) วงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยวเรียงสลับ
ใบรูปไข่ ปลายแหลม ฐานกลม ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน เนื้อใบบาง มีต่อมที่ฐานใบสองต่อม ดอกเล็ก ออกเดี่ยวหรือเป็นช่อที่ยอด ดอกมีขน ผลรูปไข่ สีน้ำตาลอ่อน แก่จัดจะแห้งและแตก

ในใบสลอด มี hydrocynaic acid, triperpinoid ส่วนในเมล็ด มีโปรตีนที่เป็นพิษ ๒ ชนิดคือ croton globulin และ croton albumin นอกจากนี้ก็มี น้ำตาล sucrose และ glycoside crotonosideให้น้ำมันสลอดที่ประกอบด้วย oleic, linoleic, arachidic, myristic, stearic, palmitic, acetic และ formic acid นอกจากนี้ยังมีกรด lauric, tiglic, valeric, butyric และ free amino acids อีกหลายตัว

สรรพคุณทางยา : ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ถ้ากินมาก อาจทำให้แท้ง รากและไส้มีรสเมาร้อน แก้โรคเรื้อน
เปลือกต้น มีรสเฝื่อน แก้เสมหะที่ค้างอยู่ในคอในอก
เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม ทำให้อาเจียน ขับเหงื่อ เป็นยาขับปัสสาวะ
ใบ รสฝาดเมา ตำพอกแก้ฝีตะมอย
ดอก รสฝาดเมาเย็น ดับธาตุไฟมิให้กำเริบ แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้กลากเกลื้อน แก้คุดทะราด
เมล็ด รสเผ็ดร้อนมัน เมล็ดมีพิษมาก ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะเป็นยาถ่ายอย่างแรงและเป็นพิษ ก่อนใช้ประกอบยาต้องฆ่าฤทธิ์ยาตามตำรับกำหนดไว้เสียก่อน จึงจะใช้เป็นยาถ่ายพิษเสมหะและโลหิต
ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายลม ถ่ายพยาธิ แก้การผิดปกติของจิตประสาท แก้โรคลมชักบางชนิด แก้ท้องผูกที่ใช้
ยาอื่นไม่ได้ผล ขับพยาธิในลำไส้ แก้ท้องมาน บวมน้ำ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้โรคเก๊าท์
ยาง จากทุกส่วนของต้นและเมล็ด มีพิษ
น้ำมันที่สกัดจากเมล็ด เป็นยาถ่ายอย่างแรง และมีพิษมาก ใช้เพียง 1 หยดก็มากพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับ และ ยินดีที่ได้รู้จัก จ่ะ ทุก ๆ คน

>>>CLICK ! ! !<<< เม้นน นน นน ๆ กันด้วย นะ คับ
ส่วนนี่ facebook ผมคับ Click


THANK YOU . . .



อยากบอกอะไรกับนัทคนนี้ ?

Powered By Blogger

ความคิกเห็นถึงบล็อกนี้ >>>